♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันที่ 21 พฤศจิกายน 2556


ครั้งที่ 3
บันทึกการเรียนรู้

4. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่ากายและสุขภาพ (Children with Physical and Health)
  • เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน
  • อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป
  • มีปัญหาทางระบบประสาท
  • มีความลำบากในการเคลื่อนไหว
จำแนกได้เป็น
      1. อาการบกพร่องทางร่างกาย
      2. ความบกพร่องทางสุขภาพ
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย
    - ซีพี. ( Cerebral Palsy )
  • การเป็นอัมพ่าตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากหลังคลอดที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด
  • การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดขึ้น
      อาการ
  • อัทพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก ( Soastic )      
  • อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ
  • อัมพาตการสูญเสียการทรงตัว
  • อัมพาตตึงแข็ง ( Rigid )
  • อัมพาตแบบผสม
   - กล้ามเนื้ออ่อนแรง ( Muscular Distrophy )    
  • เกิดจากเส้นปราสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้นๆเสื่อมสลายตัว
  • เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่
  • จะมีความพิการซ้อนในระยะหลังคือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
   - โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ( Orthopedic )
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก ( Club Foot )กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลัง
  • ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ เช่น วัณโรค กระดูก หลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอกกระดูก
  • กระดูกหัก ข้อเคลื่อน
   - โปลิโอ ( Poliomyelitis ) เกิดจากเชื้อไวรัส
          มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
   - แขนขาด้วนแต่กำเนิด ( Limb Deficiency )
   - โรคกระดูกอ่อน ( Osteogenesis Imperfeta )
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ
    - โรคลมชัก ( Epilepsy )
        เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องจากความผิดปกติ
  1. ลมบ้าหมู ( Grand Mal )
  • เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชัก กล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
     2.  การชักในช่วงเวลาสั้นๆ ( Petit Mal )
  • เป็นอาการชักชั่วระยะเวลาสั้นๆ 5-10 วินาที
  • เมื่อเกิดอาการชักเด็กจะหยุดชะงักในท่าก่อนชัก
  • เด็กจะนั่งเฉย หรือเด็กอาจจะตัวสั่นเล็กน้อย
     3.  การชักแบบรุนแรง ( Grand Mal )
  • เมื่อเกิดอาการชัก เด็กจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้ทลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนไปชั่วครู่
    4.  อาการชักแบบ Partial Complex 
  • เกิดอาการเป็นระยะๆ
  • กัดริมฝีปาก ไม่รู้สึกตัว ถูตามแขนขา เดินไปมา
  • บางคนอาจเกิดความโกรธหรือโมโห หลังชักอาจจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ได้ และต้องการนอนพัก
    5.  อาการไม่รู้สึกตัว ( Focal Partial )
  • เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้ตัว เช่น ร้องเพลง ดึงเสื้อผ้า เดินเหม่อลอย แต่ไม่มีอาการชัก
   -  โรคระบบทางเดินหายใจ
   -  โรคเบาหวาน ( Diabetes mellitus )
   -  โรคข้ออักเสบรูมตอยด์
   -  โรคศีรษะโต ( Hydreocephalus )
   -  โรคหัวใจ ( Cardiac Conditions )
   -  โรคมะเร็ง ( Cancer )
   -  เลือดไหลไม่หยุด ( Hemophilia )
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
  • ท่าทางคล่ายกรรไกร
  • เดินขากะเพลก หรืออืดอาดเชื่องช้า
  • ไอเสียงห้องปอยๆ
  • มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
  • หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจากบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
  • หกล้มบ่อยๆ
  • กิวและกระหายน้ำเกินกว่าเหตุ
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา(Children With Speech and Largu
      เด็กที่พูดไม่ชัด ออกเสียงผิดเพี้ยน อวัยวะที่ใช้ในการพูดไม่สามารถเป็นไปตามลำดับขั้นการใช้อวัยวะเพื่อการพูดไม่เป็นไปดังตั้งใจ มีอากัปกิริยาที่ผิดปกติขณะพูด
     1. ความผิดปกติด้านการออกเสียง
  • ออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานของภาษาเดิม
  • เพิ่มหน่วยเสียงเข้าในคำโดยไม่จำเป็น
  • เอาเสียงหนึ่งมาแทนอีกเสียงหนึ่ง เช่น กวาด เป็น ฟาด
      2. ความผิดปกติด้านจังหวะเวลาของการพูด เช่น การพูดรัว การพูดติดอ่าง
      3. ความผิดปกติด้านเสียง
  • ระดับเสียง
  • ความดัง
  • คุณภาพของเสียง
      4. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia
      4.1. Motor aphasia
  • เด็กที่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่งแต่พูดไม่ได้ ออกเสียงลำบาก
  • พูดช้าๆ พอพูดตามได้บ้างเล็กน้อย บอกชื่อสิ่งของพอได้
  • พูดไม่ถูกไวยากรณ์
      4.2. Wernicke's aphasia
  • เด็กที่ไม่เข้าใจคำถาม หรือคำสั่ง ได้ยินแต่ไม่เข้าใจความหมาย
  • ออกเสียงไม่ติดขัด แต่มักใช้คำผิดๆ หรือใช้คำอื่นซึ่งไม่มีความหมายมาแทน
      4.3. Conduction aphasia
  • เด็กที่ออกเสียงได้ไม่ติดขัด เข้าใจคำถามดี แต่พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้ มักเกิดร่วมไปกับอัมพาตของร่างกายซีกขวา
       4.4. Nominal aphasia
  • เด็กที่ออกเสียงได้ เข้าใจคำถามดี พูดตามได้ แต่บอกชื่อวัตถุไม่ได้ เพราะลืมชื่อ
       4.5. Global aphasia
  • เด็กไม่เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน
  • พูดไม่ได้เลย
       4.7. Sensory agraphia
  • เด็กที่ลอกตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ไม่ได้
  • เขียนตามคำบอกไม่ได้
       4.8. Cortical alexia
  • เด็กที่อ่านไม่ออก เพราะไม่เข้าใจภาษา
       4.9. Motor alexia
  • เด็กที่เห็นตัวเขียนหรือตัวพิมพ์ใหญ่เข้าใจความหมายแต่อ่านออกเสียงไม่ได้
       4.10. Gerstmann's syndrome

  • ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
  • ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
  • คำนาณไม่ได้ (acalculia)
  • เขียนไม่ได้ (agraphia)
  • อ่านไม่ออก (alexia)
       4.11. Visual agnosia

  • เด็กที่มองเห็นวัตถุ แต่ไม่รู้ว่าเป็นอะไร บางทีบอกชื่อนิ้วตัวเองไม่ได้
       4.12. Auditory agnosia

  • เด็กที่ไม่มีความบกพร่องทางการได้ยินแต่แปลความหมายไม่เข้าใจ ของคำหรือประโยคที่ได้ยินไม่เข้าใจ
           ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา

  • ในวัยทารกมักเงียบผิดธรรมชาติ ร้องให้เบาๆ และอ่อนแรง
  • ไม่อ้อแอ้ภายในอายุ 10 เดือน
  • ไม่พูดภายในอายุ 2 ขวบ
  • หลัง 3 ขวบแล้วภาษาพูดของเด็กก็ยังฟังเข้าใจยาก
  • ออกเสียงตัวสะกดไม่ได้
  • หลัง 5 ขวบ เด็กยังคงใช้ภาษาที่เป็นประโยคไม่สมบูรณ์ในระดับประถมศึกษา
  • มีปัญหาในการสื่อความหมายพูดตะกุกตะกัก
  • ใช้ท่าทางในการสื่อความหมาย
สะท้อนการเรียนรู้
  1. ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ ว่ามีลักษณะอย่างไร อาการเป็นแบบไหน
  2. สามารถนำเอาสิ่งที่เรียนในวันนีนำไปเป็นความรู้ไว้ใช้ในอนาคตได้

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2556


ครั้งที่ 2
บันทึกการเรียนรู้

- ชี้แจง เกี่ยวกับการเรียนในรายวิชานี้ว่าจะได้คะแนนอย่างไร
  • จิตพิสัย                            10 คะแนน
  • งานเดี่ยว (งานวิจัย)         10 คะแนน
  • งานกลุ่ม (นำเสนอ)          20 คะแนน
  • บันทึกอนุทิน (Blog)          20 คะแนน
  • โทรทัศน์ครู                      10 คะแแน
  • สอบกลางภาค                 15 คะแนน
  • สอบปลายภาค                 15 คะแนน
เนื้อหาการเรียนรู้
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Children with spacial needs)
       ความหมายของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
             1. ทางการแพทย์ มักจะเรียกเด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า "เด็กพิการ" เพื่อใช้เกี่ยวกับการบำบัด
             หมายถึง เด็กที่มีความผิดปกติ มีความบกพร่อง สูญเสียสมรรถนภาพ อาจเป็นความผิดปกติ ความบกพร่องทางกายการสูญเสียสมรรถภาพทางสติปัญญา ทางจิตใจ
             2. ทางการศึกษา ให้ความหมาย เด็กที่มีความต้องการพิเศษว่า  เด็กที่มีความต้องการทางการศึกษาเฉพาะของตัวเอง ซึ่งจำเป็นต้องจัดการศึกษาให้ต่างไปจาก เด็กปกติทางด้านเนื้อหา หลักสูตรกระบวนการที่ใช้และการประเมินผล
             สรุปได้ว่า  เด็กที่มีความต้องการพิเศษ หมายถึง
             เด็กที่ไม่อาจพัฒนาความสามารถได้เท่าที่ควรจากการให้การช่วยเหลือ และการสอนตามปกติ
มีสาเหตุจากสภาพความบกพร่องทางร่างกายสติปัญญา และอารมณ์  จำเป็นต้องได้รับการกระตุ้น ช่วยเหลือการบำบัด และฟื้นฟู  จัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับลักษณะและความต้องการของเด็กแต่ละบุคคล

ประเภทของเด็หที่มีความต้องการพิเศษ
           แบ่งกลุ่มได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
    มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วๆ ไปว่า "เด็กปัญญาเลิศ"
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
    กระทรวงศึกษาธิการ ได้แบ่งออกเป็น 9 ประเภท
    1. เด็กบกพร่องทางสติป้ญญา
    2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน
    3. เด็กบกพร่องทางการมองเห็น
    4. เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
    5. เด็กบกพร่องทางการพูดและภาษา
    6. เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
    7. เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
    8. เด็กออทิสติก
    9. เด็กพิการซ้อน

1. เด็กบกพร่องทางสติปัญญา (Children with Intellectual Disabilities)
    หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญาหรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
    มี 2 กลุ่ม คือ เด็กเรียนช้า และเด็กปัญญาอ่อน
  •    เด็กเรียนช้า
             - สามารถเรียนในชั้นเรียนปกติได้
             - เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ
             - ขาดทักษะในการเรียนรู้
             - มีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย
             - มีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
             สาเหตุของการเรียนช้า 
                        - ภายนอก
                        - ภายใน
             ปัจจัยหลักเกิดภายนอก
              1. ภายนอก
                   - เศรษฐกิจของครอบครัว
                   - การสร้างเสริมประสบการณ์ให้แก่เด็ก
                   - สภาวะทางด้านอารมณ์ของคนในครอบครัว
                   - การเข้าเรียนไม่สม่ำเสมอ
                   - วิธีการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
             2. ภายใน
                   - พัฒนาการช้า
                   - การเจ็บป่วย เด็กมีโรคประจำตัวเป็นสาเหตุ
                   ๐ เด็กปัญญาอ่อน
                            - เด็กที่มีภาวะพัฒนาการหยุดชะงัก
                            - แสดงลักษณะเฉพาะ คือ มีระดับสติปัญญาต่ำ
                            - มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย
                            - มีความจำกัดทางด้านทักษะ
                            - มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย
                            - มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อม
                   เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
                            1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก (IQ) ต่ำกว่า 20  
                                 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่างๆ ได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
                            2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ  20-34
                                 ไม่สามารถเรียนได้ ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่ายๆ              
2 กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปกันว่า C.M.P (Custodial Mental Reterdation)
                            3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ  35-49
                                 พอที่จะฝึกอบรมและเขียนทักษะเบื้องต้นง่ายๆ ได้ สามารถฝึกอาชีพ หรือทำงานง่ายๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้ เรียกว่า T.M.P (Trainable Mentally Retarded)
                            4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70
                                 เรียนในระดับประถมศึกษาได้ สามารถฝึกอาชีพและงานง่ายๆได เรียกโดยทั่วๆไปว่า E.M.R (Educable Mentally Reterded)

     ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา

  • ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
  • ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
  • ความคิด และอารมณ์ เปลี่ยนแปลงง่าย รอคอยไม่ได้
  • ทำงานช้า
  • รุนแรง ไม่มีเหตุผล
  • อวัยวะบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
  • ช่วยตนเองได้น้อยกว่าเด็กในวัยเดียวกัน
2. เด็กบกพร่องทางการได้ยิน (Children with Hearing Impaired) 
    หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุไห้การรับฟังเสียงต่างๆ ได้ไม่ชัดเจน 
มี 2 ประเภท คือ เด็กหูตึง และเด็กหูหนวก
     เด็กหูตึง หมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง จำแนกกลุ่มย่อยได้ 4 กลุ่ม
             1. เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินระหว่าง 26-40 DB
                 เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงเบาๆ เช่น เสียงกระซิบหรือเสียงจากที่ไกลๆ
             2. เด็กหูตึงปานกลาง ได้ยินเสียงระหว่าง 41-55 DB
                -เด็กจะมีปัญหาในการรับเสียงพูดคุยที่ดังในระดับปกติในระยะห่าง 3-5 ฟุตและไม่เห็นหน้าผู้พูด            
                -จะได้ยิน ได้ยินไม่ชัด จับใจความไม่ได้
                -มีปัญหาในการพูดเล็กน้อย เช่น พูดไม่ชัด ออกเสียงเพี้ยน พูดเสียงเบา หรือเสียงผิดปกติ
             3. เด็กหูตึงระดับมาก ไดยินระหว่าง 56-70 DB
                -เด็กจะมีปัญหาในการรับฟัง และเข้าใจคำพูด
                -เมื่อพูดคุยกันด้วยเสียงดังเต็มที่ก็ยังไม่ได้ยิน
                -มีปัญหาในการรับฟังเสียงหลายเสียงพร้อมกัน
                -มีพัฒนาการทางภาษาและการพูดช้ากว่าปกติ
                -พูดไม่ชัด เสียงเพี้ยน บางคนไม่พูด
             4. เด็กหูตึกรัดับรุนแรง ได้ยินระหว่าง 71-90 DB
                 -เด็กจะมีปัญหาในการรับฟังเสียงและการเข้าใจคำพูดอย่างมาก
                 -ไดยินเฉพาะเสียงที่ดังไกล้หูในระยะ 1ฟุต
                 -การพูดคุยด้วยต้องตะโกนหรือใช้เครื่องขยายเสียง
                 -เด็กจะมีปัญหาในการแยกเสียง
                 -เด็กมักพูดไม่ชัด และมีเสียงผิดปกติ บางคนไม่พูด
        
       เด็กหูหนวก
                 -เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
                 -เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
                 -ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
                 -ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 DB ขึ้นไป
      
       ลักษณะของเด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

  • ไม่ตอบสนองเสียงพูด เสียงดนตรี มักตะแคงหูฟัง
  • ไม่พูด มักแสดงท่าทาง
  • พูดไม่ถูกหลักไวยากรณ์
  • พูดด้วยเสียงแปลก มักเปร่าเสียงสูง
  • พูดด้วยเสียงต่ำ หรืด้วยเสียงที่ดังเกิดความจำเป็น
  • เวลาฟังมักจะมองปากของผู้พูด หรือจ้องหน้าผู้พูด
  • รูสึกไวต่อการสั่นสะเทือน และการเคลื่อนไหวรอบตัว
  • มักทำหน้าที่เด๋อ เมื่อมีการพูดด้วย
3.เด็กบกพร่องทางการมองเห็น (Children with Visual Impairments)
          -เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสงเห็นเลือนราง
          -มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
          -สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
          -มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา 
จำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ เด็กตาบอด และเด็กตาบอกไม่สนิท
          เด็กตาบอด
                -เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง
                -ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
                -มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
                -มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา
          เด็กตาบอดไม่สนิท
                -เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
                -สามารถมองเห็นบ้าง แต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
                -เมื่อทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18 , 20/60, 6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
                -มีลานสายตาโดยเฉลี่ย อย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
         
        ลักษณะของเด็กบกพร่องทางการเห็น

  • เดินงุ่มง่าม ชนและสะดุดวัตถุ
  • มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
  • มักบ่นว่าปวดศีรษะ คลื่นใส้ ตาลาย คันตา
  • ก้มศีรษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่รางอยู่ตรงหน้า
  • เพ่งตา หรี่ตา หรือปิดตาข้างหนึ่ง เมื่อใช้สายตา
  • ตาและมือไม่สัมพันธ์กัน
  • มีความลำบากในการจำ และแยกแยะสิ่งที่เป็นรูปร่างทางเรขาคณิต
สะท้อนการเรียนรู้
       1. ได้ความรู้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา
       2. ได้เรียนรู้เนื้อหาเด็กที่มีความบกพร่องเพิ่มมากขึ้น

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2556

ครั้งที่ 1
บันทึกการเรียนรู้

- ทำ Maid Mapping  เกี่ยวกับ "เด็กพิเศษ"













- อาจารย์ อธิบายแนวการสอน ชี้แจงว่าเรียนวิชานี้มีการบันทึกการเรียนรู้ในแต่ละครั้งลงในบล็อก โดยมีเนื้อหาดังนี้
   1. บันทึกการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียนในวิชานี้
   2. พร้อมสะท้อนการเรียนรู้ที่ได้จากการเรียน














สะท้อนการเรียนรู้
       1. อย่างน้อยก็ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่า "เด็กพิเศษ"
       2. ได้ความรู้พื้นฐานก่อนที่จะเรียนรู้ลึกเข้าไปอีก