♥♥♥Welcome to blogger Miss Wilaiporn Chinapak ♥♥♥

วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่ 30 มกราคม 2557

ครั้งที่12
บันทึกการเรียนรู้ 


การดูแลรักษาและส่งเสริมพัฒนาการเด็กที่มีความต้องการพิเศษ    
     ดาวซินโดรม
         -รักษาตามอาการ
         -แก้ไขความผิดปกติร่วมด้วย
         -ให้เด็กช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน และอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด
         -เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)
               1.ด้านสุขภาพอนามัย
                  บิดามารดา พาบุตรไปพบแพทย์ ตั้งแต่แรกเริ่ม ติดตามอาการเป็นระยะๆ
               2.การส่งเสริมพัฒนาการ
                  เด็กกลุ่มอาการดาวน์สามารถพัฒนาได้ถ้าได้รับการฝึกสอนที่เหมาะสม
               3.การดำรงชีวิตประจำวัน
                  ฝึกให้ช่วยเหลือตนเองมากที่สุด
               4.การฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก
                 -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ เช่น การฝึกพูด กายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด
                 -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษาโดยจัดทำแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP)
                 -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม เช่น การฝึกทักษะกาดำรงชีวิตประจำวัน
                 -การฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพโดยการฝึกอาชีพ
               การเลี้ยงดูในช่วง3เดือนแรก
                 -ยอมรับความจริง
                 -เด็กกลุ่มอาการดาวน์มีพัฒนาการเป็นขั้นตอนเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป
                 -ให้ความรักความอบอุ่น
                 -ตรวจภายใน หามะเร็งปากมดลูก
                 -คุมกำเนิด ทำหมัน
                 -การสอนเพศศึกษา
                 -ตรวจโรคหัวใจ
              การส่งเสริมพัฒนาการ
                -พัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่นคณิตศาสตร์ ภาษา
                -สามารถปรับตัวและช่วยเหลือตนเองได้มากขึ้น
                -สังคมยอมรับมากขึ้น ไปเรียนร่วมหรือเรียนรวมได้
                -ลดปัญหาพฤติกรรม
                -คุณภาพชีวิตดีขึ้น สามารถแก้ปัญหาและทำงานดีขึ้น

            ........................................……………………………………………………………….

      ออทิสติก

             ส่งเสริมความเข้มแข็งของครอบครัว
                 -ครอบครัวมีบทบาทสำคัญที่สุดในกระบวนการดูแลและช่วยเหลือเด็กออทิสติก
             ส่งเสริมความสามารถของเด็ก
                 -การเสริมสร้างโอกาสให้เด็กได้เล่นของเล่นที่หลากหลาย
                 -ทำกิจกรรมที่หลากหลาย
                 -การปรับพฤติกรรมและฝึกทักษะทางสังคม
                 -เพิ่มพฤติกรรมที่เหมาะสมและลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
                 -การให้แรงเสริม
             การฝึกพูด
                 -โดยเฉพาะในรายที่มีพัฒนาการด้านภาษาและการสื่อความหมายล่าช้า
                 -ถ้าเด็กพูดได้เร็ว โอกาสที่เด็กจะมีพัฒนาการด้านภาษาใกล้เคียงเหมือนกับเด็กปกติจะมีเพิ่มมากขึ้น
                 -ลดภาษาที่ไม่เหมาะสม
                 -ช่วยลดพฤติกรรมที่ก้าวร้าวที่เกิดจากการไม่สามารถสื่อความหมายที่ต้องการได้
                 -การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
             การส่งเสริมพัฒนาการ
                 -ให้เด็กมีพัฒนาการเป็นไปตามวัย
                 -เน้นในเรื่องการมองหน้า การสบตา การมีสมาธิ การฟัง การทำตามคำสั่ง
                 -ส่งเสริมพัฒนาการด้านอื่นที่ล่าช้าควบคู่กับพัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร สังคม และการปรับพฤติกรรม

             การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
                 -เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
                 -แผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล
                 -โรงเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน
             การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
                 -ทักษะในชีวิตประจำวัน และการฝึกทักษะทางสังคม
                 -ให้เด็กสามารถทำได้ด้วยตนเองเต็มความสามารถ โดยต้องการความช่วยเหลือน้อยที่สุด
             การรักษาด้วยยา
                 -Metheylphenidate (Ritalin) ช่วยลดอาการไม่นิ่ง/ซน หุนหันพลันแล่น/ขาดสมาธิ
                 -Risperidone /Haloperidol ช่วยลดอาการอยู่ไม่นิ่ง หงุดหงิด หุนหันพลันแล่น พฤติกรรม ซ้ำๆ ก้าวร้าวรุนแรง
                 -ยาในกลุ่ม Anticonvulsant (ยากันชัก) ใช้ได้ผลกับรายที่มีพฤติกรรมทำร้ายตนเอง
การบำบัดทางเลือก
                -(AAC) การสื่อความหมายทดแทน
                -(Art Therapy) ศิลปกรรมบำบัด
                -(Music Therapy)ดนตรีบำบัด
                -(Acupuncture) การฝังเข็ม
                -(Animal Therapy) การบำบัดด้วยสัตว์
             พ่อแม่
                -ลูกต้องพัฒนาได้
                -เรารักลูกของเรา ไม่ว่าเขาจะเป็นอย่างไร
                -ถ้าเราไม่รักแล้วใครจะรัก
                -หยุดไม่ได้
                -ดูแลจิตใจและร่างกายของตนเองให้แข็งแรง
                -ไม่กล่าวโทษตนเองหรือคู่สมรส
                -ควรหันหน้าปรึกษากันในครอบครัว

…………………………………………………………………….. ........................................................
จากนั้นอาจารย์ก็เปิดวีดีโอ ของ ราชานุกูล เรื่อง กิจกรรมบำบัดเด็กสมาธิสั้น ให้นักศึกษาได้ดู แล้ววิเคราะห์ว่าได้อะไรจากวีดีโอที่ได้ดูไปนั้นนักศึกษาได้รับความรู้อะไร

สะท้อนการเรียนรู้
             ได้เรียนรู้อาการของเด็กที่มีความบกพร่องและวิธีการรักษาว่าเด็กที่มีความบกพร่องควรจะใช้ยาอะไรให้เหมาะกับอาการพร้อมกับการส่งเสริมเด็กอย่างไรที่เหมาะกับอาการ 

วันที่ 16 มกราคม 2557

ครั้งที่11
บันทึกการเรียนรู้ 

* หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเกิดสถานการณ์ทางการเมือง

วันที่ 9 มกราคม 2557

ครั้งที่10
บันทึกการเรียนรู้ 


*อาจารย์ให้นำเสนองานกลุ่่ม

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (LD)
      หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า LD กันมาบ้างแล้ว LD หรือ Learning Disabilities เป็นกลุ่มที่มีความบกพร่องในทักษะการเรียนรู้เฉพาะด้าน ที่แสดงออกมาในรูปของปัญหาการอ่านหนังสือ การเขียนหนังสือ การสะกดคำหรือการคำนวณ ทำให้เด็กมีผลการเรียนต่ำกว่าระดับเชาว์ปัญญา ซึ่งไม่ได้เกิดจากอวัยวะพิการ ภาวะปัญญาอ่อน ปัญหาทางอารมณ์หรือการขาดโอกาสในการเรียนรู้ แต่เป็นผลโดยตรงที่มาจากสมองทำงานบกพร่องไป การช่วยเหลือทางการแพทย์ เนื่องจากโรค LD สามารถเกิดรวมกับโรคอื่นๆได้บ่อย เช่น โรคสมาธิสั้น ดังนั้นแพทย์จึงมีบทบาทในการประเมิน วินิจฉัยภาวะต่างๆที่เด็กมี ร่วมถึงให้การรักษาภาวะเหล่านั้น เช่น โรคสมาธิสั้น หากได้รับยาช่วยสมาธิ อาการของโรคก็จะดีขึ้นมาก การช่วยเหลือทางการศึกษา โรงเรียนควรจัดทำแผนการเรียนรายบุคคลให้สอดคล้องกับระดับความบกพร่องของเด็กแต่ละด้าน โดยทำความเข้าใจกับครูถึงปัญหาและความบกพร่องของเด็ก เน้นการสอนเสริมในทักษะที่บกพร่อง เช่น การสะกดคำ อ่าน เขียนสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือตัวต่อครั้งละ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 4-5 วัน การช่วยอ่านบทเรียนให้ฟัง เพื่อให้เด็กได้เนื้อหา ความรู้ ได้เร็วขึ้น การให้เวลาในการทำสอบเพิ่มขึ้น เพื่อให้เด็กมีเวลาเพียงพอในการ อ่านโจทย์ และเขียนตอบ จะช่วยให้เด็กเรียนได้ดีขึ้น และควรส่งเสริมทักษะด้านอื่นๆ ที่เด็กสนใจ เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพื่อให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในตนเอง



เด็กดาวน์ซินโดม

      เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของสารพันธุกรรมที่เป็นมาแต่กำเนิด เด็กมักเกิดจากพ่อและแม่ที่ปกติ เด็กจะมีสารพันธุกรรมของโครโมโซมแท่งที่ 21 เกินมา อาการแสดงหลักคือ ปัญญาอ่อน มีโรคหัวใจพิการ และอายุสั้นการดูแลรักษาเด็กที่เป็น กลุ่มอาการดาวน์ เนื่องจากเป็นโรคของพันธุกรรม จึงไม่มียารักษาได้นอกจากจะไม่ให้เด็กเกิดออกมา แต่เมื่อเด็กเกิดออกมาแล้ว การดูแลเด็กเหล่านี้จะต้องอาศัยความร่วมมือจากพ่อแม่ และสังคมรอบข้างร่วมกัน เพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่สามารถช่วยเหลือตนเองได้มากที่สุด

เด็กสมาธิสั้น
     โรค สมาธิสั้นสมัยก่อนเรียกว่า ออทีสซึม หรือ ความผิดปกติของความใส่ใจไม่สามารถสร้างปฏิสัมพันธ์ต่อคนรอบข้างได้ เป็นโรคที่เกิดขึ้นในวัยเด็กไปจนถึงเสียชีวิต มีอาการคือไม่สามารถทำให้เกิดสัมพันธภาพทางสังคมที่ดีได้ ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาในวัยเรียน ทั้งทางเพื่อน ความเคารพครูอาจารย์ จะไม่เข้าใจว่าต้องมีความเคารพ จะไม่สามารถแสดงความรักความเกลียดได้ แต่บางครั้งแสดงอาการอย่างคาดไม่ถึง โรคนี้พูดอีกในว่าภาวะความผิดปกติที่อยู่ในกลุ่มออทีสติกสาเหตุมาจากปัญหา ทางพันธุกรรม ซึ่งสมองจะมีการทำงานผิดพลาด ว่องไวเกินไป ความตอบสมองไม่เหมือนเดิม โดยจะมีสารพิษคั่งอยู่ในร่างกาย ซึ่งพันธุกรรมไม่สามารถคายสารพิษออกมาได้ ในทางการแพทย์ การแก้ไขทางสมองคือถ้ามีสารพิษ จะขับสารพิษออกจากสมอง ถ้าสมองไวจะใช้ยาช่วย ถ้าช้ากว่าปกติ จะใช้ยาหรือสารอาหารช่วย เช่น ผู้ป่วยหลายรายจะสร้างพลังงานไม่พอ วัฏจักรการสร้างพลังงานจะติดขัด จึงต้องเพิ่มสารอาหารเข้าไปในร่างกาย ส่วนด้านพฤติกรรมต้องอาศัยการรักษาจากความเข้าใจ จากความอบอุ่นทางครอบครัวและสังคม สร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เพราะหากความเครียดเกิดขึ้นมากจะมีการสร้างสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา

เด็กสมองพิการ
     สมองพิการ(Cerebral Palsy) หรือคำย่อที่นิยมเรียก คือ ซี พี (C.P.) ไม่ใช่เป็นโรคเฉพาะ แต่เป็นคำรวมของกลุ่มอาการของผู้ป่วยเด็กที่มีความพิการอย่างถาวรของสมอง ความพิการนี้จะคงที่และไม่ลุกลามต่อไป ซึ่งมีผลให้การประสานงานของการทำงานของกล้ามเนื้อบกพร่อง ส่งผลให้ร่างกายมีการเคลื่อนไหวและการทรงท่าที่ผิดปกติ เช่น การเกร็งของใบหน้า ลิ้น ลำตัว แขน ขา การทรงตัว การทรงท่าในขณะนั่ง ยืน เดิน ผิดปกติหรืออาจเดินไม่ได้ นอกจากนี้ อาจมีความผิดปกติในการทำงานของสมองด้านอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น มีความบกพร่องในการมองเห็น ได้ยิน การรับรู้ การเรียนรู้ สติปัญญา และโรคลมชัก เป็นต้น

      การรักษาแพทย์จะให้การรักษาตามลักษณะอาการที่พบ ส่วนมากจำเป็นต้องให้การรักษาทางกายภาพบำบัด กิจกรรมบำบัด การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน ฝึกพูด แก้ไขความผิดปกติเกี่ยวกับสายตาและการได้ยินส่วนยาที่ให้ จะเป็นยาที่ใช้ควบคุมอาการเกร็ง อาการสั่น อาการชัก ซึ่งมีให้เลือกอยู่หลายชนิด และจำเป็นต้องกินอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี บางครั้งแพทย์อาจฉีดยาโบทูลิน (botulin) มีชื่อการค้า เช่น โบท็อกซ์ (Botox) เพื่อลดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ บางรายอาจต้องทำการผ่าตัดแก้ไขความพิการและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
.................................................................................................................................. จากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบ Gesell Drawing Test

วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่ 2 มกราคม 2557

ครั้งที่ 9
บันทึกการเรียนรู้
* หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันหยุดขึ้นปีใหม่ 




วันที่ 26 ธันวาคม 2556

ครั้งที่ 8
บันทึกการเรียนรู้

* หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากทางมหาลัยหยุดวันปีใหม่ และเป็นช่วงของการสอบ

วันที่ 19 ธันวาคม 2556

ครั้งที่ 7
บันทึกการเรียนรู้

* หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นสัปดาห์ของการสอบ

วันที่ 12 ธันวาคม 2556

ครั้งที่ 6
บันทึกการเรียนรู้

พัฒนาการ
  • การเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะต่างๆรวมทั้งตัวบุคคลทำให้สามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ากว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน
  • พัฒนาการล่าช้าอาจพบเพียงด้านใดด้านหนึ่ง หลายด้านหรือทุกด้าน
  • พัฒนาการล่าช้าในด้านหนึ่งอาจส่งผลให้พัฒนาการในด้านอื่นล่าช้าด้วยก็ได้
ปัจจัยที่มีผลต่อพัฒนาการเด็ก
  • ปัจจัยทางด้านชีวภาพ
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมก่อนคลอด
  • ปัจจัยด้านกระบวนการคลอด
  • ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมหลังคลอด
สาเหตุที่ทำให้เกิดความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • โรคทางพันธุกรรม
  • โรคของระบบประสาท
  • ติดเชื้อ
  • ความผิดปกติเกี่ยวกับเมตาบอลิซึม
  • ภาวะแทรกซ้อนระยะเเรกเกิด
  • สารเคมี ได้แก่ ตะกั่ว/แอลกอฮอล์/Fetal alcohol syndrome (FAS)/นิโคติน
  • การเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมรวมทั้งการขาดสารอาหาร 
อาการของเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • มีพัฒนาการล่าช้า ซึ่งอาจจะพบมากกว่า 1 ด้าน
  • ปฏิกิริยาสะท้อน (primtive reflex) ไม่หายไปแม้จะถึงช่วงอายุที่ควรจะหายไป
แนวทางการวินิจฉัยเด็กที่มีความบกพร่องทางพัฒนาการ
  • การซักประวัติ
  • ตรวจร่างกาย
  • การสืบค้นทางห้องปฏิบัติการ
  • ประเมินพัฒนาการ
สะท้อนการเรียนรู้
  1. วันนี้เรียนรู้เรื่องพัฒนาการ เด็กที่มีความบกพร่อง

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556




ครั้งที่ 5
บันทึกการเรียนรู้

* หมายเหตุ : ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันพ่อแห่งชาติ


       จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (ราชบัณฑิตยสถาน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หน้า 587) พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายของคำว่า พ่อ หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก, คำที่ลูกเรียกชายผู้ให้กำเนิดตน ในทางพุทธศาสนา ได้ให้ความหมายของคำว่า “พ่อ” หมายถึง ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูกมีใช้หลายคำ เช่น บิดา (พ่อ) ชนก (ผู้ให้กำเนิด) สามี (ของแม่) เป็นต้น

         วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย

         วันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือวันพ่อแห่งชาติ มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์เป็นผู้ถวายการประสูติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการจำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษกทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่ พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม” อันคำว่าโดย “ธรรม” นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า “ทศพิธราชธรรม” หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า “ราชธรรม 10 ประการ”

           ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฏิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ ห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณอย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น “พ่อ” ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้

วันพฤหัสบดีที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2556


ครั้งที่ 4
บันทึกการเรียนรู้

6. เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
  • เด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆไม่ได้
  • เด็กที่ควบคุมพฤตกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้
  • ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
แบ่งได้ 2 ประเภท
  • เด็กที่ได้รับความกระทบกระเทือนทางอารมณ์
  • เด็กที่ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก ได้แก่.
  • เด็กสมาธิสั้น ( เรียกย่อยๆว่า ADHD )
  • เด็กออทิสติก หรือ ออทิสซึ,
ประเภทที่ 7 เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  • เรียกย่อๆว่า L.D.
  • เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง
  • เด็กที่มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน
  • ไม่นับรวมเด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อยทางการเรียน เด็กที่มีปัญหาเนื่องจากความพิการหรือความบกพร่องทางร่างกาย
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
  • มีปัญหาในทักษะคณิตศาสตร์
  • ปฏิบัติตามคำสั่งไม่ได้
  • เล่าเรื่อง / ลำดับเหตุการณ์ไม่ได้
  • มีปัญหาทางด้านการอ่าน เขียน
ประเภทที่ 8 เด็กออทิสติก
  • หรือ ออทิซึม
  • เด็กที่มีความบกพร่องอย่างรุนแรงในการสื่อความหมายพฤติกรรม สังคม และความสามารถทางสติปัญญาในการรับรู้
  • เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
  • ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต
ลักษณะของเด็กออทิสติก
  • อยู่ในโลกของตนเอง
  • ไม่เข้าไปหาใครเพื่อปลอบใจ
  • ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
  • ไม่ยอมพูด
  • เคลื่อนไหวแบบช้าๆ
  • ยึดติดวัตถุ
  • ต่อต้าน หรือแสดงกิริยาอารมณ์รุนแรง และไร้เหตุผล
  • มีที่ทำเหมือนหูหนวก
  • ใช้วิธีการสัมผัส และเรียนรู้สิ่งต่างๆ ด้วยวิธีการที่ต่างไปจากคนทั่วไป
ประเภทที่ 9 เด็กพิการซับซ้อน
  • เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
  • เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
  • เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
  • เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด 
          ต่อจากนั้น อาจารย์ได้แจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น และให้ดูคลิปโทรทัศน์ครู เรื่องศูนย์การศึกษาพิเศษ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ แล้วสรุปเป็น Mind Map ลงในแผ่นกระดาษ A4 ที่อาจารย์แจกให้(ส่งในคาบ)

สะท้อนการเรียนรู้

  1. ได้ทราบถึงสภาพปัญหาของเด็กพิเศษและลักษณะของความบกพร่อง
  2. สามารถรู้ทันเด็ก ว่าเด็กมีความบกพร่องด้านใด